5 แหล่งประวัติศาสตร์ ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่น่าไปค้นหา
จังหวัดเชียงใหม่ ถือว่าเป็นจังหวัดอันดับต้นๆ ในภาคเหนือของประเทศไทยที่เป็นจังหวัดน่าอยู่ น่าเที่ยว เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติ วัฒนธรรมประเพณี ที่ถูกรวบรวมไว้ในบทความที่นักเขียนของเราได้สรุปไว้ 5 เหตุผลที่ “เชียงใหม่” เป็นเมืองที่ควรมาเที่ยวสักครั้งในชีวิต วันนี้ Krataekanchana และ Vsotour จะพาคุณไปค้นหา 5 แหล่งประวัติศาสตร์ ในจังหวัดเชียงใหม่ กันค่ะ รับรองได้ว่า สถานที่เหล่านี้จะทำให้คุณได้รู้จัก และพบกับความสวยงาม พร้อมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจไม่แพ้ที่ใดๆ ในเมืองไทยเลยค่ะ
ที่แรกที่จะไป “วัดพระธาตุดอยคำ”
วัดพระธาตุดอยคำ วัดเก่าแก่ในจังหวัดเชียงใหม่ อายุกว่า 1,300 ปี ตั้งอยู่บริเวณดอยคำ ด้านหลังอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 465 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างในปี พ.ศ. 1230 รัชสมัยพระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งหริภุญชัย โดยพระโอรสทั้ง 2 เป็นผู้สร้าง ประกอบด้วยเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ศาลาการเปรียญกุฏิสงฆ์ และพระพุทธรูปปูนปั้น เดิมชื่อวัดสุวรรณบรรพต แต่ชาวบ้านเรียกว่า "วัดดอยคำ" ต่อมา ได้มีการค้นพบโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น พระรอดหลวง พระหินทรายปิดทององค์ใหญ่ พระสามหมอ (เนื้อดิน) จึงนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดแห่งนี้ภายในวัดยังประดิษฐานพระธาตุดอยคำ พระเจดีย์สำคัญและเก่าแก่ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และหลวงพ่อทันใจที่มีอายุหลายร้อยปี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำเมืองเชียงใหม่
พระธาตุดอยคำ
ภาพจากhttps://travel.trueid.net/detail/eMKOJRkkgvgM
วัดนี้มีลานชมวิวที่สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์รอบเมืองเชียงใหม่ ได้รับความนิยมจากคนทั่วไปทั้งคนไทยและต่างชาติ การสักการะจะใช้พวงมาลัยมะลิ
ภาพจาก https://travel.trueid.net/detail/eMKOJRkkgvgM
ที่ตั้ง 108 หมู่ 3 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่่ สุเทพ เมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200
พิกัด : https://www.google.com/maps/
เวลาเปิด ทุกวัน : 6.00 – 18.00 น
โทร 05326 3001
ข้อมูล https://thai.tourismthailand.org/Attraction/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B3
“พระตำหนักดาราภิรมย์”
พระตำหนักดาราภิรมย์เป็นที่ประทับของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จุดเด่นของพระตำหนัก คือมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นอาคารสองชั้นแบบตะวันตก มีลักษณะคล้ายบ้านพักอาศัยในกรุงเทพฯ ที่ก่อสร้างในเวลาใกล้เคียงกัน พื้นที่ชั้นบนประกอบด้วย ห้องขนาดใหญ่หลายห้อง แต่ละห้องสูงโปร่ง มีลวดลายฉลุบริเวณคอสองเพื่อระบายอากาศ มีการปลูกไม้เลื้อยให้ร่มเงาและบรรยากาศร่มรื่น มีชื่อเรียกสวนหน้าพระตำหนักว่า "สวนเจ้าสบาย"ด้านหน้าเป็นที่ประดิษฐานพระอนุสาวรีย์พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในปี 2564 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินปรับปรุงพื้นที่ เพื่ออนุรักษ์และปรับปรุงอาคารพิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์และพื้นที่โดยรอบ ให้เป็นพิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์
พระอนุสาวรีย์พระราชชายาเจ้าดารารัศมี
สวนเจ้าสบาย
ภาพจาก https://www.cuartculture.chula.ac.th/about/departments/daraphirom-palace-museum/
เปิดทำการวันพุธ ถึง วันอาทิตย์ ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ (ปิดเฉพาะวันจันทร์และวันอังคาร)
เวลา 9.00-17.00 น.
โทร. 0-5329-9175
ค่าเข้าชมสถานที่:
– เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี / พระสงฆ์ / นักเรียนในเครื่องแบบ เข้าชมฟรี
– ผู้ใหญ่ และชาวต่างชาติ 20 บาท
Facebook: https://www.facebook.com/DaraphiromPalace/
“แจ่งก๊ะต๊ำ”
แจ่ง หรือ มุม ในภาษาเหนือ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการหาปลาโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ขะต๊ำ ซึ่งเป็นเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง ที่ชาวบ้านหาปลาตามมุมของประตูเมืองเชียงใหม่ บริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่อยู่ต่ำกว่าพื้นที่อื่นๆ ทำให้มีปลาอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงนิยมหาปลากันในบริเวณนี้ ที่ตั้งของ “แจ่งก๊ะต๊ำ”อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของคูเมือง เชื่อมต่อไปยังประตูเชียงใหม่ ที่ตั้งของถนนคนเดินวันเสาร์ หรือถนนคนวัวลาย ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเมืองเชียงใหม่ เปิดเฉพาะวันเสาร์ เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านทำเครื่องเงิน ทั้งผลิตและจำหน่ายสินค้าเครื่องเงิน นอกจากนี้ยังมีสินค้า อาหารพื้นเมืองจำหน่ายในราคาย่อมเยาว์ด้วยค่ะ
ภาพแจ่งก๊ะต๊
ภาพจาก https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/767493
บรรยากาศถนนคนเดินวัวลาย
สินค้าเครื่องเงิน
ภาพจาก https://www.reviewchiangmai.com/saturday-walking-street-wua-lai/
“ประตูเชียงใหม่”
มี 5 ประตูด้วยกันค่ะ ข้อมูลและภาพจากเทสบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งทั้ง 5 ประตูนี้เป็นจุดเช็คอินที่นักท่องเที่ยวมักมาถ่ายรูป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวมี่สำคัญของเชียงใหม่อีกหนึ่งที่ที่ไม่ควรพลาดเลยค่ะ
1. ประตูช้างเผือก เดิมมีชื่อว่า “ประตูหัวเวียง” เป็นประตูชั้นในด้านทิศเหนือ เป็นประตูเดชของเมือง ในพระราชพิธีบรมราชาพิเษก กษัตริย์จะเสด็จเข้าเมืองยังประตูนี้ ประตูนี้เปลี่ยนชื่อในรัชสมัยของพระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 1 เนื่องจากได้โปรดให้สร้างอนุสาวรีย์รูปช้างเผือกขึ้น
ประตูช้างเผือก
ภาพจาก https://th.tripadvisor.com/Attraction_Review-g293917-d14007813-Reviews-Chiang_Mai_Gate-Chiang_Mai.html
2. ประตูเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางด้านใต้ ในอดีตเป็นเส้นทางสำคัญระหว่างเชียงใหม่ไปเวียงกุมกามและลำพูน ในสมัยราชวงศ์มังราย (พ.ศ. 1804 – 2101) ทั้งเชียงใหม่ กุมกาม และลำพูน ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำปิงเช่นเดียวกัน การเดินทางจึงไม่ต้องข้ามแม่น้ำปิง และยังเป็นศูนย์รวมของสล่าหรือช่างในบริเวณชุมชนแถวนี้
ภาพประตูเชียงใหม่
3. ประตูสวนดอก ตั้งอยู่ทิศตะวันตก ประตูด้านนี้เป็นทางออกไปสู่อุทยานของกษัตริย์ สมัยพญากือนา พ.ศ. 1914 ได้สร้างวัดบนพื้นที่อุทยานจึงเรียก วัดสวนดอก และในช่วงนั้นพญากือนาสร้างเวียงสวนดอกด้วย
ประตูสวนดอก
ภาพจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81_%E0%B8%AD.%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87_%E0%B8%88.%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88_%285%29.jpg
4.ประตูเชียงเรือก หรือเรียกว่า "ประตูท่าแพ" ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของกำแพงเมืองชั้นใน มีบ้านเชียงเรือกตั้งอยู่บริเวณนอกกำแพงเมือง เดิมบ้านเชียงเรือกเป็นชุมชนค้าขายเพราะเป็นที่ตั้งของตลาดเชียงเรือก ตลาดเก่าแก่แห่งหนึ่งของเชียงใหม่ ชื่อประตูเชียงเรือก เปลี่ยนมาเป็น ประตูท่าแพชั้นในเพื่อให้คู่กับประตูท่าแพชั้นนอก ซึ่งอยู่บนถนนสายเดียวกัน ชื่อประตูท่าแพ หมายถึง ประตูชั้นนอกตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดแสนฝาง ต่อมาบ้านเรือนขยายตัว ประตูท่าแพชั้นนอกได้สลายไปเหลือแต่ประตูท่าแพชั้นใน ชาวบ้านจึงเรียกชื่อสั้นๆ ว่า ประตูท่าแพ สำหรับประตูท่าแพในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2528 – 2529 โดยอาศัยภาพถ่ายเก่าประตูเมืองเชียงใหม่ประตูหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5
ภาพจาก https://th.readme.me/p/42241
5. ประตูแสนปุง ตั้งอยู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ใกล้กับประตูเชียงใหม่ เฉพาะกำแพงเมืองด้านใต้เท่านั้นที่มีสองประตู ประตูนี้สันนิษฐานอาจเจาะภายหลังคือไม่ได้สร้างพร้อมกับสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1839 อย่างไรก็ตามยังไม่พบหลักฐานที่กล่าวถึงการเจาะประตูนี้ สันนิษฐานที่ชื่อ แสนปุง เพราะเป็นทางออกไปสู่บริเวณที่มีเตาปุง (เตาไฟ) มากมาย เพราะด้านนอกประตูเป็นที่อยู่ของกลุ่มช่างหลอมโลหะจึงมีเตาปุงไว้หลอมโลหะจำนวนมากเปรียบนับแสน ปัจจุบันยังมีบ้านช่างหล่อพระพุทธรูปอาศัยอยู่ และถนนเลียบคูเมืองด้านนี้ชื่อถนนช่างหล่อจากความเชื่อเรื่องทิศและพื้นที่ถือเป็นเขตกาลกิณี จึงกำหนดให้ประตูแสนปุงเป็นทางออกไปสุสาน เวลามีประชาชนเสียชีวิตในเมือง หรือชาวบ้านที่อาศัยในเขตในเมือง จะต้องนำศพออกที่ประตูนี้เท่านั้น
“พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์”
พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เป็นพระตำหนักที่มีความงามและประณีตที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2505 พระราชวังเป็นอาคารทรงไทย บริเวณโดยรอบมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีภูมิทัศน์สวยงาม มีสวนดอกไม้ละลานตาโดยเฉพาะดอกกุหลาบหลากสายพันธุ์ให้นักท่องเที่ยวได้ชมกันค่ะ
ตั้งอยู่บนดอยบวกห้า ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เวลา(ทุกวัน) : 08:00น. - 16:30น. (ระยะเวลาในการเยี่ยมชม: 2 ชั่วโมง)
เวลาจำหน่ายบัตร : 08:00น. - 15:30น.
งดการเข้าชมเสด็จแปรพระราชฐาน (ระหว่างเดือนมกราคม-ต้นเดือนมีนาคม)
ค่าเข้าชม 20 บาท สำหรับผู้ใหญ่ เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท
จบไปแล้วกับ 5 แหล่งประวัติศาสตร์ ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่น่าไปค้นหา เชียงใหม่เมืองที่บอกเลยว่าต้องมาให้ได้ เที่ยวที่ไหนไม่สุขใจเท่ากับเที่ยวเมืองไทย แต่ละที่ที่เราพาคุณไป คุณจะได้สัมผัสธรรมชาติ เชิงอนุรักษ์ ผจญภัย ฮิลใจอย่างมีความสุข อิ่มเอมกับที่พัก ที่กิน สำหรับใครอยากแชร์เรื่องราวของคุณ สามารถเข้ามาเขียนแชร์ประสบการณ์แบบพวกเราได้ที่ Vsotour.com สมัครสมาชิกได้ที่นี่ Vsotour/Register ติดตามข่าวสาร ภาพท่องเที่ยวได้ที่ Facebook / Youtube / Tiktok ที่แหล่งที่เที่ยวของเมืองไทยไม่ได้มีเพียงเท่านี้ เรื่องราวการท่องเที่ยวร้อยเรียงผ่านความรู้สึกและการสัมผัสที่แท้จริงมาแบ่งปันกัน แล้วพบกับกับเรื่องราวดีๆอีกนะคะ ติดตามและเป็นกำลังใจให้นักเขียน Krataekanchana คนนี้ด้วยนะคะ